นับจากรัฐบาลประกาศให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG Model (Bio – Circular – Green Economy) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2564 และแสดงศักยภาพและความพร้อมทางเศรษฐกิจ BCG ของไทยบนเวทีโลก ผ่านการประชุม APEC ในปี 2565 นับจากนั้นการขับเคลื่อนอาหารแห่งอนาคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ก็ยิ่งเด่นชัดและเดินหน้าสู่การพัฒนาในหลากหลายแนวทาง
โมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ โมเดลการพัฒนา 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่
เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ อาทิ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงยังสอดรับกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย
โดย 3 เศรษฐกิจหลัก มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เศรษฐกิจชีวภาพที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
2. เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ช่วยลดการเกิดขยะหรือของเสีย
3. เศรษฐกิจสีเขียว คือการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน
อาหารแห่งอนาคต:
การพัฒนา 3 เศรษฐกิจหลัก มีความเชื่อมโยงกับที่กับการขับเคลื่อน 'อาหารแห่งอนาคต' ซึ่งเป็นเป็นแนวคิดในอุตสาหกรรมอาหารโลกที่มีความหลากหลาย ในหน้าตา รูปแบบ และกระบวนการผลิตอาหาร
โดยเน้นการคิดออกแบบอาหารและกระบวนการผลิตอาหารที่เหมาะสมกับโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่ดีของประชากร จนทำให้กลายเป็นเทรนด์ที่มีการขับเคลื่อนสู่การพัฒนา ทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่
ขอบคุณ Office of Knowledge Management and Development (OKMD)