ชุดเชฟ เครื่องแบบแห่งประสบการณ์และเกียรติยศ

ในโลกของการทำอาหาร ชุดเชฟไม่ได้เป็นเพียงเครื่องแบบ แต่แฝงไปด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน  เป็นตัวแทนของประสบการณ์  ทักษะ  และความทุ่มเทของผู้สวมใส่  บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักที่มาที่ไปของชุดเชฟ  ตำแหน่งต่างๆ ในครัว  และงาน Thailand Retail, Food & Hospitality Services 2024 (TRAFS 2024)  งานแสดงสินค้าที่รวมที่สุดสำหรับธุรกิจร้านอาหาร

ชุดเชฟมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี  โดยเริ่มต้นจากหมวกทรงสูงสีขาว หรือ Toque Blanche  ที่มีความหมายมากกว่าแค่เครื่องประดับ  แต่เป็นสัญลักษณ์ของประสบการณ์  ทักษะ  และความเคารพนับถือในอาชีพ

 

ในอดีต  ความสูงของหมวกบ่งบอกถึงอันดับของเชฟ  หมวกของ Marie-Antoine Careme  เชฟชาวฝรั่งเศส  สูงถึง 18 นิ้ว  และต้องเสริมด้วยกระดาษแข็ง  จำนวนจีบบนหมวก  บ่งบอกถึงจำนวนวิธีการปรุงไข่  หมวกที่มีจีบมากที่สุด  บ่งบอกว่าเชฟสามารถปรุงไข่ได้ถึง 100 วิธี

 

ปัจจุบัน  หมวกเชฟมีรูปแบบที่เรียบง่ายขึ้น  ความสูงลดลงเหลือ 12 นิ้ว  และจำนวนจีบลดลงเหลือ 3-4 จีบ  ชุดเชฟสมัยใหม่เกิดขึ้นเมื่อกลางศตวรรษที่ 19  โดย Marie-Antoine Careme  เลือกใช้สีขาว  สื่อถึงความสะอาด  ความมีคุณธรรม  และสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกค้า

 

เชฟตำแหน่งต่าง ๆ

ในครัวของร้านอาหาร  มีทีมเชฟที่แบ่งออกเป็นหลายตำแหน่ง  แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกัน  ดังนี้

Executive Chef: เป็นหัวหน้าใหญ่ของครัว ดูแลทุกๆ เรื่องในครัว แต่ส่วนใหญ่จะทำงานในออฟฟิศ ดูแลเรื่องรายรับ รายจ่าย การสั่งซื้อวัตถุดิบ และคิดค้นเมนูใหม่ๆ

Chef de Cuisine: หรือหัวหน้าครัวร้อน เปรียบเหมือนเงาของ Executive Chef ดูแลงานในครัว ควบคุมเรื่องความสะอาด ความปลอดภัยของอาหาร และตรวจสอบคุณภาพของอาหาร

Sous Chef de Cuisine: คือผู้ช่วยเชฟครัวร้อน สามารถผลันตัวเองมาเป็น Chef de Cuisine ได้เมื่อ Chef de Cuisine ไม่อยู่ มีหน้าที่ดูแลและสอนงานพนักงานใหม่

Chef de Entremetier: คือเชฟในครัวร้อน ดูแลส่วนประกอบทุกอย่างในจาน ยกเว้นเนื้อและซอส ในจานที่ไม่ใช่เนื้อและซอส

Chef de Saucier: คือเชฟในครัวร้อน ดูแลเมนูเนื้อ และซอสในจาน เตรียมเนื้อต่างๆ หั่น ปรุง และทำซอสสำหรับเสิร์ฟคู่กับเนื้อ

Chef de Garde Manger: คือเชฟครัวเย็น ดูแลอาหารทุกอย่างที่ไม่ต้องปรุงร้อน และเตรียมวัตถุดิบ และปรุง Appetizer ต่างๆ

Chef de Pâtissier: คือเชฟขนมหวาน เทียบเท่ากับ Chef de Cuisine แต่ดูแลเฉพาะในส่วนของขนมหวาน สั่งวัตถุดิบ อุปกรณ์สำหรับครัวขนม โดยจะปรึกษา Executive Chef ในการออกแบบสูตรเบเกอรี่และขนมเมนูใหม่ๆ

Commis de cuisine/Commis de pâtissier: คือผู้ช่วยเชฟ เตรียมวัตถุดิบ ตรวจสอบสินค้า จัดเรียงตามชั้น ควบคุมความสะอาดในครัว

หากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหารหรือธุรกิจเบเกอรี่ ทำงานในนครัวหรือสนใจในเรื่องของการทำอาหาร ห้ามพลาดกิจกรรมเด็ดในงาน Thailand Retail, Food & Hospitality Services 2024 (TRAFS 2024) ทั้งการสาธิตเมนูอาหารและเบเกอรี่ขายดี การอบรมเชฟมืออาชีพ และอัพเดทเทรนด์ล่าสุด ฟรี!

 

พบกันวันที่ 11-14 กรกฎาคม 2567  ที่ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ลงทะเบียนเข้าชมงานได้แล้ววันนี้ https://eventpassinsight.co/el/to/T2401

Spread the love